องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือเรียกสั้นว่า นาซ่า (National Aeronautics and Space Administration – NASA) ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ตามรัฐบัญญัติการบินและอวกาศแห่งชาติ ถือเป็นหน่วยงานราชการของสหรัฐรับผิดชอบโครงการอวกาศ และงานวิจัยในห้วงอวกาศ ซึ่งรัฐบาลสหรัฐอเมริกาคอยจัดการ หรือควบคุมระบบงานวิจัยระหว่างฝ่ายพลเรือน และฝ่ายทหาร โดยในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 องค์การนาซ่าได้ประกาศภารกิจหลักว่าจะบุกเบิกอนาคตแห่งการสำรวจอวกาศ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ทำงานวิจัยทางการบิน และอวกาศ มีคำขวัญว่า เพื่อประโยชน์ของคนทุกคน (For the benefit of all) เริ่มปฏิบัติงานอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ประกอบด้วยห้องปฏิบัติการ 4 แห่ง มีพนักงานประมาณ 8,000 คน ซึ่งในช่วงแรกโอนมาจากคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการบินแห่งชาติ (NACA) ซึ่งในขณะนั้นเป็นหน่วยงานวิจัยของรัฐที่มีอายุกว่า 46 ปีแล้ว
โครงการในระยะแรกของนาซ่าเป็นงานวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อส่งมนุษย์ขึ้นไปกับยานอวกาศ โดยเป็นการดำเนินภายใต้แรงกดดันที่ต้องการแข่งขันกับสหภาพโซเวียต ซึ่งขณะนั้นเป็นช่วงสงครามเย็น นาซาเริ่มศึกษาความเป็นไปได้ที่มนุษย์จะใช้ชีวิตในห้วงอวกาศ ชื่อโครงการเมอร์คิวรี ต่อมาในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 นักบินอวกาศ อลัน บี. เชเพิร์ด จูเนียร์ ได้กลายเป็นชาวอเมริกันคนแรกที่ขค้นไปในอวกาศ โดยการเดินทางด้วยยานฟรีดอม 7 เป็นภารกิจที่ใช้เวลานาน 15 นาที แบบไม่เต็มวงโคจร หลังจากนั้น จอห์น เกล็นน์ จึงได้กลายเป็นชาวอเมริกันคนแรกที่ทำการโคจรแบบรอบโลกในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 ใช้เวลาขึ้นบินนาน 5 ชั่วโมง ด้วยยานเฟรนด์ชิป 7
ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/cape-canaveral-ฟลอริดา-กระสวยอวกาศ-79355/
ศูนย์วิจัยหลักของ นาซ่า ที่มีภารกิจหน้าที่ ดูแลงานต่าง ๆ ในปัจจุบันนั้นมีอยู่ด้วยกัน 10 ศูนย์ ดังนี้
- ศูนย์การบินอวกาศกอดเดิร์ด (Goddard Space Flight Center) ตั้งอยู่ที่ Greenbelt, Maryland ทำหน้าที่ควบคุมยานสำรวจอวกาศของ นาซ่า และติดตามความคืบหน้าในการสำรวจโลก สำรวจระบบสุริยะ และเอกภพ
- ศูนย์การบินอวกาศมาร์แชลล์ (Marshall Space Flight Center) ตั้งอยู่ที่ Huntsville AL, Madison County ทำการพัฒนาระบบขนส่งทางอวกาศ และระบบขับดันต่าง ๆ
- ศูนย์การบินอวกาศสเตนนิส (Stennis Space Flight Center) ตั้งอยู่ที่ Mississippi ศูนย์ของนาซ่าที่ทำการวิจัยและทดลองระบบขับดันของจรวด Satturn V และควบคุมระบบการขับเคลื่อนยานอวกาศต่าง ๆ
- ศูนย์วิจัยเกลนน์ (Glenn Research Center) ตั้งอยู่ที่ Cleveland, Ohio ศูนย์ของนาซ่าที่ทำการพัฒนาระบบขับดัน และเทคโนโลยีการสื่อสารต่าง ๆ
- ศูนย์วิจัยเอมส์ (Ames Research Center) ตั้งอยู่ที่ Mountain View, California ทำการพัฒนาด้านไอที การออกแบบ และกระบวนการสร้างอากาศยาน การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีด้านอวกาศ
- ศูนย์วิจัยแลงลีย์ (Langley Research Center) ตั้งอยู่ที่ Hampton, Virginia ทำการวิจัยของนาซ่าด้านอากาศยานและอวกาศ
- ศูนย์วิจัยการบินไดรเดน (Dryden Flight Research Center) ตั้งอยู่ที่ Los Angeles County, California ทำการวิจัยด้านการบิน
- ศูนย์อวกาศเคนเนดี (Kennedy Space Center) ตั้งอยู่ที่ Florida เป็นศูนย์วิจัยจรวดเพื่อส่งยานสำรวจออกไปนอกโลก
- ศูนย์อวกาศจอห์นสัน (Johnson Space Center) ตั้งอยู่ที่ Houston, Texas มีหน้าที่ฝึกนักบินอวกาศ และผู้ควบคุมกระสวยอวกาศ
- ห้องปฏิบัติการจรวดขับดัน (Jet Propusion Labolatory) ตั้งอยู่ที่ Pasadena, California ทำงานด้านการควบคุมยานสำรวจอวกาศต่าง ๆ ในระบบสุริยะ
ที่ของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/nasa-สหรัฐอเมริกา-ศูนย์อวกาศเคนเนดี-621411/
เทคโนโลยีของนาซ่า ที่นำใช้ในชีวิตประจำวัน
- อาหารแช่แข็งและอาหารแห้ง เนื่องจากนาซ่าจำเป็นต้องลดน้ำหนักสิ่งของต่าง ๆ ที่นำขึ้นไปในอวกาศให้เหลือน้อยที่สุด หนึ่งในนั้นคือก็คืออาหารต่าง ๆ สำหรับนักบิน แต่ต้องถนอมรักษาสารอาหารเอาไว้ให้ได้มากที่สุด โดยมีน้ำหนักเหลือเพียง 20% เท่านั้น
- คอมพิวเตอร์ไมโครชิพ คือการย่อขนาดคอมพิวเตอร์สมองกลให้อยู่ในขนาดพกพาแบบกระเป๋า เพื่อใช้เป็นระบบติดต่อพูดคุยระหว่างโลกและอวกาศ มีความจำเป็นมาก แต่ก็ต้องใช้พื้นที่ให้น้อยที่สุด ซึ่งในไมโครชิพนี้ได้เข้ามามีบทบาทต่อเครื่องมือ และอุปกรณ์ไฮเทคต่าง ๆ โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนด้วย
- เหล็กดัดฟัน อาจดูเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ไม่น่าเกี่ยวข้องกับนาซ่าแม้แต่น้อย แต่เนื่องจากกระบวนการสร้างจรวดขึ้นอวกาศนั้น ตัวยานจะถูกปลดออกเป็นปล้อง ๆ ในชั้นบรรยากาศซึ่งจำเป็นต้องใช้เหล็กที่เรียกว่า Nitinol ที่ทนต่อความร้อ นและสามารถดัดรูปได้ตามต้องการ ซึ่งวัสดุชนิดนี้ได้ถูกใช้เป็นส่วนผสมสำคัญของเหล็กดัดฟันแบบโปร่งใสอย่างในปัจจุบัน
- อาหารเด็ก ในระหว่างที่นาซ่าทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก หรือจุลินทรีย์ที่อยู่ในสาหร่ายสีเขียว (Algae) เพื่อพิสูจน์ว่าในอวกาศจะสามารถผลิตออกซิเจนได้เองหรือไม่ แต่งานวิจัยกลับค้นพบว่าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีสารอาหารที่จำเป็นต่อเด็ก ๆ ไม่ต่างจากน้ำนมแม่ และมีการนำความรู้ดังกล่าวไปพัฒนาเป็นอาหารเด็กที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน
- เครื่องมือไร้สาย เนื่องจากเมื่ออยู่ในอวกาศ การใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ไม่ควรมีสายไฟยาวระเกะระกะ และควรมีน้ำหนักเบา ใช้ง่าย พกพาได้สะดวก จึงเกิดเป็นเครื่องใช้ต่าง ๆ แบบไร้สายนั่นเอง
- แว่นตาที่ทนทานเป็นพิเศษ nasa ได้คิดค้นแว่นตาที่ได้รับการป้องกันจากชั้นพิเศษ เพื่อทนแรงกดอากาศมหาศาลที่เกิดขึ้นในช่วงการเปลี่ยนไปยังชั้นบรรยากาศนอกโลก เรียกว่า Direct Ion Deposition ซึ่งเป็นการนำชั้นเกราะบาง ๆ ที่ทำจากคาร์บอนแข็งแรงพิเศษหุ้มแว่นตาเอาไว้อีกชั้น ซึ่งเทคโนโลยีนี้ได้นำไปใช้ผลิตเลนส์แว่นตา
- โฟมที่นิ่มเป็นพิเศษ มีชื่อเรียกว่า Viscoelastic Polyurethane Foam หรือ Memory Foam ด้วยความนุ่มจนไม่เหลือร่องรอยเมื่อสัมผัส ซึ่งได้ถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของเบาะนั่ง หรือหมอนหนุนนอน ที่เกิดจากงานวิจัยของนาซ่าที่ต้องการเบาะชนิดพิเศษสำหรับใส่ไว้ในหลอด Capsule ที่ช่วยป้องกันไม่ให้นักบินอวกาศเกิดการบาดเจ็บจากแรงกระแทกในระหว่างขึ้นไปยังอวกาศนั่นเอง
- ใยผ้าทนความร้อนสูง (กันไฟได้) จากโศกนาฏกรรมที่เกิดจากการลุกไหม้ของยานอวกาศ Apollo หมายเลข 1 ที่คร่าชีวิตนักบินอวกาศไปถึง 3 คน นาซ่าจึงคิดค้นใยผ้าที่ทนทานต่อการลุกไหม้มาใช้เป็นวัสดุหลักของชุดนักบินอวกาศ รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ของนักบิน ซึ่งในปัจจุบันได้นำมาให้พนักงงานดับเพลิง และนักแข่งรถใช้เพื่อความปลอดภัยด้วย
- จอยบังคับเกมส์ เกมเมอร์ที่เล่นจากเครื่องเล่นเกมคงคุ้นเคยกับอุปกรณ์นี้ดี โดย นาซ่า ได้คิดค้นจอยบังคับเพื่อใช้ควบคุมการลงจอดของยานสำรวจนั่นเอง
- พื้นรองเท้า ต้นแบบของพื้นรองเท้าที่สามารถรองรับน้ำหนักตัว และแรงกระโดดได้ดีนั้น ถูกคิดค้นขึ้นมาโดย NASA เพื่อช่วยให้เวลานักบินอวกาศสามารถเดินในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงได้ดีนั่นเอง Ufabet เว็บหลัก
ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/nasa-สหรัฐอเมริกา-ฟลอริดา-1640510/