ยืมเงินผ่านแอพ ได้เงินจริงไหม?

ยืมเงินผ่านแอพ ได้เงินจริงไหม?

การ ยืมเงินผ่านแอพ นับเป็นอีกช่องทางหนึ่งของการกู้เงินออนไลน์ หรือให้สินเชื่อเงินด่วนซึ่งในปัจจุบันพบปัญหาการกระทำที่ผิดกฎหมายได้ระบาดอย่างหนัก เห็นได้จากแอพพลิเคชันปล่อยเงินกู้ที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก มีการส่งข้อความ SMS เพื่อให้อนุมัติสินเชื่อถี่และบ่อยเป็นพิเศษ ทั้งที่ผู้ถือมือถือไม่เคยขอสินเชื่อ หรือลงทะเบียนขอกู้เงินที่ไหนมาก่อน ทำให้ผู้ที่กำลังร้อนเงินหลายคน จึงพลาดกรอกข้อมูลขอกู้เงินไป และก็กลายเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ เพราะทำการโอนค่าธรรมเนียมไปให้เพื่อหวังเงินกู้ ก่อนถูกเชิดเงินหนีไป

                ข้อควรระวังในการ ยืมเงินผ่านแอพ คือการพิจารณาผู้ให้กู้ที่ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายเป็นสำคัญ ระมัดระวังการเป็นหนี้นอกระบบ โดยข้อสังเกตที่สามารถป้องกันมิจฉาชีพที่ผิดกฎหมายตามวิธีการที่จะกล่าวต่อไปในบทความนี้

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/เงินให้กู้ยืม-เครดิต-เงิน-การเงิน-4521119/

ยืมเงินผ่านแอพ กลโกงที่แอพกู้เงินออนไลน์นิยมใช้

                การรู้เท่าทันมิจฉาชีพที่ตั้งใจเชิญชวนให้เกิดการ ยืมเงินผ่านแอพ ส่วนมากจะมาในรูปแบบที่ไม่แตกต่างกันมากนัก ดังมีวิธีการต่อไปนี้

  1. ส่ง SMS หรือ LINE เพื่อให้คลิกลิงก์ เป็นรูปแบบที่พบได้บ่อยที่สุด ๆ อาจใช้การแอบอ้างหน่วยงานที่ดูน่าเชื่อถือ โดยระบุว่าพร้อมให้เงินกู้พิเศษ หรือแจ้งว่าโชคดีได้เงินจากโครงการของรัฐ หรืออาจแจ้งว่าได้ทำการโอนเงินเข้าบัญชีให้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งหลายคนเมื่อรู้แบบนี้ก็เกิดความตกใจ เพราะรู้ตัวว่ายังไม่ได้กู้อะไรเลย รีบคลิกลิงก์ที่แนบมาเพื่อเข้าไปตรวจสอบ จนตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพทันที หรืออาจมีการโทรศัพท์เข้าหาโดยตรงเพื่อเชิญชวนให้ยืมเงินผ่านแอพก็ได้ เมื่อแสดงความสนใจ มิจฉาชีพก็จะส่ง SMS มาให้คลิกลิงก์เพื่อดาวน์โหลดแอพหรือให้แอดไลน์คุยกัน ทำให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพได้
  2. การสร้างแอพหรือเว็บไซต์ที่ดูน่าเชื่อถือ ผู้ปล่อยกู้มักสร้างเว็บไซต์ แอพพลิเคชัน เพจเฟซบุ๊ก หรือบัญชี LINE เพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ อาจใช้ชื่อคล้ายบริษัทเงินกู้ขนาดใหญ่ที่มีผู้ติดตามมากมาย เพื่อล่อให้ผู้คนหลงเชื่อว่าไม่ใช่มิจฉาชีพ
  3. การใช้คำโฆษณาเกินจริง โดยมิจฉาชีพมักอ้างว่าใครเดือดร้อนต้องการยืมเงินผ่านแอพให้ทักมา หรืออาจโทรศัพท์มาเองเลยก็ได้ พร้อมกับคำโฆษณาที่ฟังดูดี อย่างเงินด่วนใช้เวลา 10 นาที ก็พร้อมโอน ยืมเงินผ่านแอพ ด่วน 30 นาทีรู้ผล หรือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ การันตีได้เงินเร็วทันใจ เป็นต้น
  4. ขอเอกสารส่วนตัว อย่างสำเนาบัตรประชาชนทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หน้าสมุดบัญชีเงินฝาก สำเนาทะเบียนบ้าน เลขหน้าและหลังของบัตรเครดิต ซึ่งถือเป็นเอกสารสำคัญที่ไม่ควรส่งให้ใครง่าย ๆ โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์อย่างเว็บไซต์ หรือแอพพลิเคชั่นที่ไม่ทราบที่มาที่ไปชัดเจน เพราะหากเป็นแอพพลิเคชั่นกู้เงินที่เชื่อถือได้ จะขอแค่ข้อมูลที่จำเป็น อย่างชื่อ – นามสกุล, เลขที่บัญชี และ Statement เดินบัญชีย้อนหลัง เท่านั้น
  5. อ้างว่าต้องโอนเงินมาก่อน เมื่อลงทะเบียนขอยืมเงินผ่านแอพไปแล้ว มิจฉาชีพมักตอบกลับหรือส่งภาพสัญญากู้ (ปลอม) มาให้ดูว่าได้อนุมัติวงเงินกู้เรียบร้อย แต่มักอ้างว่าหากต้องการถอนเงินลูกค้าต้องโอนค่าดำเนินการ ค่าธรรมเนียม หรือวางเงินประกัน 10-20% ของวงเงินกู้มาก่อนจึงจะได้เงินตามต้องการ หรือาจอ้างว่าผู้กู้ติดแบล็กลิสต์ หรือกรอกข้อมูลผิด หรือทำผิดขั้นตอนจึงไม่สามารถโอนเงินให้ได้ ต้องจ่ายเงินเพื่อปลดแบล็กลิสต์ หรือปลดล็อกบัญชีก่อน ซึ่งหากหลงเชื่อโอนเงินไปแล้ว มักมีข้ออ้างอื่น ๆ มาหลอกให้โอนเงินเพิ่มไปอีกเรื่อย ๆ สุดท้ายนอกจากจะไม่ได้เงินกู้แล้ว ยังต้องเสียเงินไปให้อีกด้วย
  6. วงเงินกู้สูงกว่าที่ขอ ยืมเงินผ่านแอพ ไป หลายคนเลือกใช้บริการกู้เงินออนไลน์เพราะอยากเงินแค่เพียงเล็กน้อย แต่ทางแอพกลับให้วงเงินกู้สูงมากกว่าที่ขอไป โดยว่าต้องกู้เงินขั้นต่ำมากกว่าที่ขอเท่านั้น ให้เงินกู้ต่ำกว่านี้ไม่ได้ หากผู้กู้ยอมรับวงเงินกู้ที่สูง ก็จะมีภาระให้จ่ายคืนเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยในอัตราที่สูงเกินไปแทนได้
  7. โอนเงินกู้ให้ไม่เต็มจำนวน เช่นทำการขอยืมเงินผ่านแอพไป 5,000 บาท อาจได้รับเงินแค่ 3,000 บาท โดยอ้างว่าหักค่าบริการ ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ซึ่งส่วนมากมักถูกหักมากกว่า 40%
  8. ดอกเบี้ยสูงผิดปกติ แอพกู้เงินที่หลอกลวงมักให้ข้อมูลดอกเบี้ยที่ไม่ชัดเจน แม้ว่าได้โทรศัพท์ติดต่อประสานงานกับคอลเซ็นเตอร์ก็อาจเป็นการสนทนาที่คลุมเครือชวนให้เข้าใจผิดได้ง่าย และนอกจากอัตราดอกเบี้ยจะสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแล้ว ยังมักบีบให้ผู้กู้ต้องรีบจ่ายเงินคืนภายใน 3 – 7 วัน อีกด้วย อาจมีการตามถึงบ้านเหมือนเงินกู้นอกระบบอีกด้วย
  9. ข่มขู่ให้หวาดกลัว กรณีที่ผู้ขอกู้เห็นเงื่อนไขสัญญาไม่ตรงตามที่ตกลงกัน หรือคุยไปคุยมาแล้วไม่อยากกู้เงิน มิจฉาชีพมักอ้างว่าไม่สามารถยกเลิกได้ พร้อมข่มขู่ว่าหากไม่กู้จะนำข้อมูลส่วนตัวไปโพสต์ประจาน หรืออ้างว่าจะไปติดต่อธนาคารหรือแบงก์ชาติเพื่อให้ขึ้นแบล็กลิสต์ หรืออาจขู่จะแจ้งความดำเนินคดีในข้อหาผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เป็นการใช้คำพูดกดดันให้คนฟังรู้สึกหวาดกลัว
ยืมเงินผ่านแอพ

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/เงิน-เรียก-การเงิน-เงินสด-การลงทุน-3565716/

หากรู้ตัวว่าถูกโกง ต้องทำอย่างไร

                หากแน่ใจว่าการยืมเงินผ่านแอพนั้นถูกหลอกแน่ ๆ อย่างแรกที่ต้องทำคือตั้งสติ แล้วค่อย ๆ พิจารณาลำดับเหตุการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง เพื่อค่อย ๆ แก้ไปตามขั้นตอน และเพื่อให้สามารถตามเอาเงินคืนมาให้ได้ ดังนี้

  1. รวบรวมหลักฐานต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุด เป็นเรื่องที่ตรวจสอบได้ง่าย เพราะเมื่อทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ต ให้ทำการเก็บสลิปโอนเงินเอาไว้ให้ดี เพื่อใช้ตรวจสอบเส้นทางการเงินของคู่กรณีเอาไว้ รวมถึงแชทที่สนทนาพูดคุยกัน ห้ามลบเด็ดขาด ควรแคปรูปเก็บเอาไว้ จะลบได้ก็ต่อเมื่อธุรกิจต่าง ๆ สำเร็จสมบูรณ์แล้ว ส่วนใครที่ไปโอนที่ธนาคารหรือโอนผ่านตู้เอทีเอ็ม ห้ามลืมเก็บสลิปที่โอนเงินเอาไว้ให้ดี ห้ามหายเด็ดขาด อาจถ่ายรูปเก็บเอาไว้ด้วย หลักฐานที่ควรรวบรวมไว้ ได้แก่
  2. หน้าเว็บไซต์ที่ปล่อยกู้ และรูปโปรไฟล์
  3. ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เลขที่บัญชีของมิจฉาชีพ
  4. ข้อความในแชตที่พูดคุยกับคนที่ทำธุรกรรมด้วย ไม่ว่าจะเป็นการสอบถาม ขอกู้ ยืนยันการชำระเงิน ฯลฯ ผ่านช่องทางโซเซียลมีเดียต่าง ๆ
  5. หลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชี เช่น สลิป, ใบนำฝาก
  6. สมุดบัญชีธนาคารของผู้ที่ ยืมเงินผ่านแอพ
  7. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเรา
  8. ทำการแจ้งความ เมื่อรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นครบแล้ว ให้นำหลักฐานทั้งหมดเข้าแจ้งความที่สถานีตำรวจในท้องที่เกิดเหตุ (สน. ที่ได้ทำการโอนเงิน) ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้ว่าถูกโกง โดยระบุว่าต้องการแจ้งความเพื่อดำเนินคดีจนกว่าจะถึงที่สุด อย่าทำแค่ลงบันทึกประจำวัน หรือแจ้งความที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ถนนแจ้งวัฒนะก็ได้ เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีมาติดตามหาตัวคนร้ายได้รวดเร็วขึ้น การแจ้งความที่ ปอท. อาจไม่สะดวกสำหรับผู้ที่อยู่ต่างจังหวัด ผู้ที่อยู่ต่างจังหวัดควรแจ้งความกับตำรวจท้องที่แทน
  9. ติดต่อธนาคาร เมื่อทำการแจ้งความดำเนินคดีแล้ว ให้ติดต่อธนาคารเพื่อแจ้งอายัดยอดเงินจากบัญชีปลายทาง โดยต้องใช้เอกสารต่อไปนี้
  10. เอกสารหนังสือแจ้งความดำเนินคดีฉบับจริง
  11. เอกสารสำเนาใบบันทึกประจำวัน
  12. เอกสาร statement ของผู้เสียหายที่มีการโอนเงิน
  13. เอกสารหมายเลขบัญชี ปลายทางที่ทำการโอนเงิน
  14. เอกสารหลักฐานรูป บทสนทนา การซื้อขาย

                หลังจากที่ส่งเรื่องให้ธนาคารแล้ว ธนาคารจะดำเนินการอายัดบัญชีปลายทาง พร้อมตรวจสอบข้อมูลก่อนพิจารณาการคืนเงิน และเมื่อแจ้งกับธนาคารแล้ว อย่าลืมแจ้งกับร้อยเวรที่ออกหนังสือแจ้งความด้วย เพื่อให้ทางตำรวจช่วยดำเนินเรื่องทางคดีต่อไป Ufabet เว็บหลัก

ยืมเงินผ่านแอพ

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/เครดิต-ธนาคาร-เงิน-การเงิน-4516068/

Credit by : ufabet