คาดการณ์อนาคตของ รัสเซีย หลังสงครามยูเครน

คาดการณ์อนาคตของ รัสเซีย หลังสงครามยูเครน

                ความตึงเครียดในยุโรปตะวันออก ระหว่างประเทศ รัสเซีย และประเทศยูเครน โดยมีประเทศสหรัฐอเมริกาเข้ามามีส่วนร่วม ได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องจนเกือบครึ่งปีเข้าไปแล้ว คนทั่วโลกต่างก็จับตามอง หวั่นว่าสงครามจะลุกลามจนเป็นสงครามโลกครั้งที่ 3 หรือไม่ เพราะเพียงแค่สงครามระหว่าง 2 ประเทศก็ส่งผลกระทบต่อทั้งตลาดหุ้น ทองคำ ราคาน้ำมัน รวมถึงคริบโตเคอร์เรีนซีชนิดว่าผันผวนกันเป็นรายวันเลยทีเดียว

                ลางเค้าของสงครามครั้งนี้เริ่มปรากฎมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 จากภาพถ่ายดาวเทียมที่แสดงให้เห็น
ว่ากองทหารรัสเซียได้เคลื่อนพลเข้าประชิดชายแดนของยูเครน ซึ่งทางยูเครนก็คาดการณ์ว่ารัสเซียได้ระดมทหารนับแสนนาย พร้อมรถถังและอุปกรณ์ทางการทหารอื่น ๆ เข้ามาปฏิบัติการซ้อมรบภาคพื้นดิน ในบริเวณที่ห่างจากชายแดนยูเครนเพียง 300 กิโลเมตร อีกทั้งรัสเซียยังเคลื่อนกำลังพลอีกราว 30,000 นาย พร้อมยุทโธปกรณ์เข้าไปที่เบลารุส ชาติพันธมิตรของรัสเซียที่ติดชายแดนของยูเครนทางตอนเหนือ และแม้ว่าประธานาธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐจะประชุมคอลกับประธานาธิบดีปูตินของรัสเซีย จะประชุมวิดีโอคอลเพื่อหาทางลดความตึงเครียดของสงคราม ทว่าการเจรจาก็ไม่ประสบความสำเร็จ

                ในที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 แม้ว่ารัสเซียจะมีการถอนกำลังทหารบางส่วนออกจากพื้นที่ใกล้พรมแดนยูเครนไปแล้ว แต่ปูตินก็ได้ลงนามรับรองประกาศเอกราชของดินแดนโดเนตสค์ และ ลูฮานสค์ ดินแดนของยูเครนที่ยังมีคนเชื้อสายรัสเซียอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก พร้อมสั่งการให้กองทัพรัสเซียดูแลพื้นที่ของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนทางตะวันออกของยูเครนทันที โดยกล่าวโทษว่ากองกำลังในสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต และพันธมิตรชาติตะวันตก ที่นำโดยสหรัฐคือภัยคุกคามของรัสเซีย

                แน่นอนว่าชาติตะวันตกนำโดยสหรัฐได้แสดงปฏิกิริยาตอบโต้โดยประกาศคว่ำบาตรรัสเซียในทันที ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ์ในการคว่ำบาตรประเทศรัสเซียกันอย่างต่อเนื่อง และก็มีอีกหลายประเทศที่ยังไม่แสดงท่าทีที่ชัดเจน ทั้งประเทศจีน และประเทศทางตะวันออกกลาง นับเป็นสถานการณ์ ที่ทั่วโลกต้องจับตากันอย่างใกล้ชิด

รัสเซีย

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/illustrations/ธงรัสเซีย-แขนเสื้อของรัสเซีย-1168870/

                ความสัมพันธ์ของประเทศรัสเซียและประเทศยูเครน

                เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายไปในปี 2534 ประเทศก็เปลี่ยนชื่อมาเป็นสหพันธรัฐรัสเซีย และเกิดประเทศที่ขอแยกตัวไปเป็นเอกราชอีก 15 ประเทศ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือประเทศยูเครนนั้นเอง แต่ภายหลังสงครามรัสเซีย-จอร์เจียในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2551 Dmitry Medvedev ประธานาธิบดีของรัสเซียในขณะนั้น ได้ประกาศให้บริเวณติดพรมแดนของ รัสเซีย มีลักษณะเป็นเขตผลประโยชน์ที่มีอภิสิทธิ์ (Sphere of privileged interests) ซึ่งเป็นผลประโยชน์ด้านยุทธศาสตร์ของรัสเซีย แต่ก็เริ่มมีสถานการณ์ตึงเครียดกับชาติที่แยกตัวเป็นอิสระ แต่มีชายแดนติดกับประเทศรัสเซียอีกด้วย

                ความบาดหมางระหว่างยูเครนและรัสเซีย มีประเด็นปัญหาสำคัญ คือการเคารพ ยอมรับสิทธิและเสรีภาพของคนที่พูดภาษารัสเซียในยูเครน ลักษณะการปกครองของยูเครนที่ไม่เป็นสหพันธรัฐที่มีการกระจายของอำนาจ ไม่มี
การเพิ่มอำนาจหรือรับฟังท้องถิ่นให้มากขึ้น แต่ยูเครนพยายามรักษารูปแบบการปกครองแบบรัฐเดี่ยว ซึ่งไม่สามารถแก้ไขปัญหาพหุสังคมของยูเครนได้ และมีแนวโน้มที่จะเกิดการแบ่งแยกดินแดนมากขึ้น และประการสำคัญที่ปูตินใช้
เป็นข้ออ้างในการก่อสงครามก็คือยูเครนมีนโยบายต่างประเทศที่ไม่เป็นกลาง หันไปอยู่ข้างตะวันตกมากเกินไป โดยเฉพาะความพยายามเข้าเป็นสมาชิกของ NATO ซึ่งรัสเซียถือว่าเป็นภัยคุกคามโดยตรง และยูเครนมีผลประโยชน์ทับ
ซ้อนกับรัสเซียในเรื่องของพลังงาน เนื่องจากยูเครนเป็นรัฐทางผ่าน (transit state) หรือรัฐที่รัสเซียเดินท่อส่งออกก๊าซธรรมชาติผ่านไปยังตลาดยุโรปและโลก คิดเป็นการส่งออกถึงร้อยละ 80 ของการส่งออกก๊าซทั้งหมดของรัสเซีย นอกจากนี้ และยูเครนยังพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากรัสเซียเป็นจำนวนมหาศาล และเป็นหนี้สาธารณะต่อรัสเซียจำนวนมหาศาล เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้รัสเซียมองว่ายูเครนเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ

คาดการณ์อนาคตของ รัสเซีย หลังสงครามยูเครน

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/vectors/ยูเครน-แผนที่-ที่ตั้ง-ประเทศ-เมือง-23600/

                ผลกระทบของสงคราม รัสเซีย ยูเครน กับประชาคมโลก

                ผลศึกษาของยูเอ็นระบุว่าโลกกำลังเผชิญกับภาวะเงินเฟ้ออันเนื่องมาจากสงครามระหว่างรัสเซีย และยูเครน
กำลังจะทำให้จำนวนคนยากจากทั่วโลกเพิ่มมากขึ้นกว่า 71 ล้านคน และเป็นปัญหาที่รัฐบาลหลายประเทศไม่สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างเด็ดขาด ที่เห็นได้ชัดคือการเกิดจลาจลในประเทศศรีลังกา แสดงถึงความอดทนของผู้คนที่กำลังเริ่มหมดไป โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรกของสงครามในยูเครน ต้นทุนพลังงาน และอาหารโลกต่างก็เพิ่มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และนายอาคิม สไตเนอร์ ผู้บริหารสูงสุดของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้กล่าวแถลงการณ์ว่า สถานการณ์ในประเทศกำลังพัฒนาจำนวน 159 ประเทศกำลังน่าเป็นห่วง อันเนื่องมาจากการปรับขึ้นราคาของสินค้าอุปโภค บริโภคสำคัญ ๆ ต่าง ๆ เริ่มส่งผลกระทบในระดับ ร้ายแรงและฉับพลัน ต่อภาคครัวเรือนที่มีฐานะยากจนที่สุดในโลกแล้ว ซึ่งแม้ว่าแรงสั่นสะเทือนต่อเศรษฐกิจโลกนั้นเกิดขึ้นหลังจากที่รัสเซียส่งกองทัพเข้ารุกรานยูเครน แต่ภาวะเงินเฟ้อเริ่มมีสัญญาณมาตั้งแต่การดำเนินมาตรการล็อกดาวน์เนื่องมาจากการระบาดครั้งใหญ่ของโรคโควิด – 19 ที่กินเวลายาวนานกว่า 18 เดือน ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบสะสมอย่างช้า ๆ แต่ทว่ารุนแรงต่อเศรษฐกิจโลก สไตเนอร์ยังระบุว่าภาวะการระบาดครั้งใหญ่ของโควิดนั้นจะทำให้ผู้คนราว 125 ล้านคนต้องตกอยู่ในภาวะยากจนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกด้วย

                นายจอร์จ เกรย์ โมลินา นักเศรษฐศาสตร์ระดับอาวุโสของ UNDP ยังเปิดเผยอีกว่าสถานการณ์ทั้ง 2 นี้ทำให้หลายประเทศทั่วโลกต้องเผชิญกับช่วงเวลา 36 เดือนของแรงช็อกอันร้ายแรงต่อเศีษฐกิจ และเป็นแรงช็อกที่เกิดขึ้นติดต่อกันหลายครั้งเหมือนการเกิดอาฟเตอร์ช็อก แต่ผลกระทบจากสงครามในยูเครนที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วรุนแรง และสามารถส่งผลต่ออุปทานด้านพลังงานและอาหารโลกอย่างรุนแรง ทำให้อัตราเงินเฟ้อทะยานสูงมากขึ้นจนยากจะรับมือ เห็นได้จากการที่รัฐบาลในหลาย ๆ ประเทศต่างประสบความล้มเหลวในการดำเนินการแก้ไขปัญหานี้อย่างเด็ดขาด นำมาซึ่งความเสี่ยงต่อการเกิดความไม่สงบในหลายประเทศ เซ็กซี่ บาคาร่า เพราะความอดทน และความสามารถของประชาชนในการรับมือต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เริ่มหมดลงตามระยะเวลาที่ปัญหาดำเนินมากอย่างต่อเนื่อง โดยผู้บริหารสูงสุดของ UNDP ได้ยกตัวอย่างกรณีของประเทศศรีลังกาที่รัฐบาลกำลังเผชิญกับภาวะความยุ่งเหยิงอย่างหนัก อย่างที่ไม่เคยประสบมาก่อน และทั้งประเทศต่างกำลังประสบภาวะขาดแคลนพลังงาน และอาหารขั้นรุนแรง และปัญหายังคงต่อเนื่องไปอีกนาน เพราะประเทศกำลังประสบปัญหาการผิดชำระหนี้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศอีกด้วย กล่าวได้ว่าสงคราม รัสเซีย ยูเครนนั้นไม่ได้ส่งผลแค่ 2 ประเทศเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อผู้คนไปทั่วโลกอีกด้วย

Credit by : ufabet