การใช้งาน โดรน ที่มากกว่าการถ่ายรูป

การใช้งาน โดรน ที่มากกว่าการถ่ายรูป

                โดรน หรืออากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle: UAV) เป็นยานพาหนะที่บินได้เหมือนอากาศยานอื่น ๆ แต่มีขนาดเล็ก แต่เดิมนิยมมติดตั้งกล้องบนยานพหนะนี้ เพื่อใช้เก็บภาพในมุมสูง แต่เมื่อพิจารณาถึงประสิทธิภาพด้านค่าใช้จ่ายจะพบว่าการนำยานพาหนะนี้ขึ้นบินจึงมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่ายานพาหนะอื่น ๆ โดยเฉพาะยานพาหนะขนส่งทางอากาศ ทำให้โดรนได้รับความต้องการในการใช้งานด้านการขนส่ง และงานด้านอื่น ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะงานด้านโลจิสติกส์ กระบวนการผลิต และงานกู้ภัย ซึ่งคาดว่าจะสามารถสร้างส่วนแบ่งตลาดได้มากขึ้นอีกในอนาคต

                โดยโดรนถูกใช้งานครั้งแรกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1918 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ใช้เพื่อสนับสนุนการทำสงครามของกองทัพสหรัฐอเมริกา และกลุ่มพันธมิตร และได้รับการพัฒนาระบบให้สามารถใช้งานได้ง่ายและหลากหลายมากขึ้น พร้อมลูกเล่นหลาย ๆ รูปแบบ การพัฒนาศักยภาพในการบินให้สูงและรวดเร็วมากขึ้น ทำให้ยานพาหนะชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง และได้รับการพัฒนาให้มีรูปแบบการใช้งานเฉพาะ เพื่อรองรับธุรกิจแขนงต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดรน

เทคโนโลยี โดรน กำลังเข้ามาทำให้เศรษฐกิจและสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลง

                ในปัจจุบัน โดรน ได้เข้ามาใช้งานในอุตสาหกรรมหลาย ๆ ด้าน จนกลายเป็นเครื่องมือทั่วไปที่ใช้งานเพื่อการค้า และภาคอุตสาหกรรม ตามรายละเอียด ดังนี้

  1. ภาคการเกษตร โดรนได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการทำเกษตรกรรม เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ช่วยจัดการดูแลกิจกรรมต่าง ๆ ในการปศุสัตว์และพืชไร่ ทั้งเพื่อตรวจสอบสภาพพื้นที่ทั้งหมดที่ทำเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่จะมีพื้นที่ขนาดใหญ่หลายร้อยไร่ และยังใช้สำหรับฉีดพ่นปุ๋ยให้กับพืชได้อีกด้วย ซึ่งคาดการณ์ว่าในอนาคตเกษตรกรและเจ้าของฟาร์มอาจนำโดรนมาใช้งานกันเพิ่มมากขึ้น
  2. การจัดส่ง เป็นแผนการในอนาคตที่จะนำโดรนมาใช้งานแทนบุรุษไปรษณีย์ ทั้งอาหาร เอกสารต่าง ๆ ของขวัญ หรือข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่โดรนสามารถรองรับน้ำหนักได้ ซึ่งในปัจจุบันมีการนำมาใช้งานในพื้นที่เฉพาะ ตาคาดการณ์ว่าในอนาคตอันใกล้จะมีการนำส่งพัสดุมาถึงบ้านผู้รับตามที่ต่าง ๆ ได้อย่างแน่นอน เพราะนอกจากจะสะดวกรวดเร็วแล้ว การบังคับด้วยยานยนต์ประเภทนี้ยังควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์จึงค่อนข้างแม่นยำมาก
  3. ระบบโลจิสติกส์ เป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพของโดรนเพื่อรองรับการใช้งานหนักจนสามารถเข้ามาทำงานแทนที่รถบรรทุกได้ ใช้ในการจัดการสินค้าภายในคลัง และการเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างคลังสินค้า ซึ่งหากทำได้สำเร็จก็จะทำให้จำนวนรถบรรทุกบนท้องถนนลดลงได้
  4. การอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อม โดรนถูกนำมาใช้เพื่อตรวจสอบสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ และการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศต่าง ๆ ทั่วโลก คาดว่าหากเทคโนโลยียานพาหนะนี้ก้าวหน้ามากขึ้น การทำงานด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  5. งานด้านสาธารณภัย เนื่องจากโดรนสามารถไปยังสถานที่ที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าถึงได้ ดังนั้นจึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับงานด้านการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติต่าง ได้ดี รวมถึงการส่งข้าวของฉุกเฉินไปยังสถานที่ที่อยู่ห่างไกล และพื้นที่ประสบภัยนั้น ๆ ได้
  6. การสร้างภาพยนตร์ และการถ่ายภาพ เคยมีกรณีตัวอย่างที่ผู้สร้างภาพยนตร์ทุนต่ำได้ใช้โดรนในการถ่ายภาพทางอากาศเพื่อให้ได้มุมมองใหม่ ๆ และทำให้ภาพยนต์ดูน่าสนใจมากขึ้น รวมถึงการใช้อุปกรณ์นี้บันทึกภาพข่าวด่วนจากมุมสูงได้อีกด้วย
  7. ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์ บริษัทด้านเทคโนโลยีขนาดใหญ่ อย่าง Facebook และ Google กำลังทดลองใช้เทคโนโลยีโดรนที่ทำงานด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตไปยังผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล อนาคตคาดว่าสามารถเปลี่ยนแปลงให้การเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ตมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  8. ตัวช่วยเพื่อควบคุมทางกฎหมาย มีกรณีตัวอย่างในซีแอตเทิลและไมอามี ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่กองกำลังตำรวจได้ยื่นขออนุญาตใช้โดรน เพื่อช่วยควบคุมตัวผู้ต้องหา และคาดว่าโดรนจะมีการใช้งานด้านกฎหมายกันมากขึ้น
  9. งานอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้นำโดรนมาใช้งาน อาทิการใช้เพื่อจับภาพพื้นที่ในบริเวณใกล้เคียง และเข้าไปสำรวจตามพื้นที่ต่าง ๆ ของอาคารที่พักอาศัยเพื่อสำรวจความเรียบร้อยในพื้นที่
drone

อาชีพ Drone Specialist อาชีพที่มาพร้อมการใช้งานโดรนในอนาคต

                กระแสความนิยมในการใช้งาน Drone เพื่อเก็บภาพจากมุมมองแบบ Bird Eye’s View และการใชงานต่าง ๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เพราะข้อดีของอากาศยานไร้คนขับนี้คือการที่สามารถเก็บภาพมุมสูงได้แบบประหยัดค่าใช้จ่าย แต่การบังคับโดรนถือเป็นทักษะที่ต้องมีพื้นฐานการบังคับเครื่องบินก่อน ซึ่งขึ้นอยู่กับการฝึกฝน และสมาธิของผู้ควบคุม

                โดยรายได้ของนักบินโดรน ค่อนข้างสูงกว่านักถ่ายภาพทั่วไปมาก โดยแบ่งตามขนาดของยานบินไร้คนขับ หรือนับตามจำนวนใบพัดของเครื่องด้วย

  1. ขนาดเล็ก หรือ 4 ใบพัด อัตราจ้างอยู่ที่ 10,000 – 15,000 บาทต่อวัน แต่หากเป็นการเก็บภาพเพื่อออกอากาศสด อัตราค่าจ้างจะเป็น 15,000 – 25,000 บาท
  2. ขนาดกลาง หรือ 6 ใบพัด อัตราจ้างอยู่ที่ 20,000 – 25,000 บาทต่อวัน แต่หากเป็นการเก็บภาพเพื่อออกอากาศสด อัตราค่าจ้างจะเป็น 25,000 – 30,000 บาท
  3. ขนาดใหญ่ หรือ 8 ใบพัดขึ้นไป อัตราจ้างอยู่ที่ 30,000 – 35,000 บาทต่อวัน แต่หากเป็นการเก็บภาพเพื่อออกอากาศสด อัตราค่าจ้างจะเป็น 35,000 – 50,000 บาท

                นักบินโดรน ต้องรู้กฎหมาย และไม่ทำผิดกฎหมาย โดยตามกฎหมายของประเทศไทย ได้แบ่งการขออนุญาตยานยนต์ไร้คนขับนี้เอาไว้ 2 ประเภท คือ

  1. ใช้เพื่องานอดิเรก เพื่อการกีฬา หรือความบันเทิง แบ่งการควบคุมตามน้ำหนักของโดรน กรณีน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม ต้องยื่นขออนุยาตประเภท 1 ก. และผู้บังคับต้องมีอายุมากกว่า 18 ปี แต่กรณีที่น้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัมแต่ไม่เกิน 25 กิโลกรัม ต้องยื่นขออนุญาตประเภท 1 ข. ผู้บังคับต้องมีอายุมากกว่า 20 ปีขึ้นไป
  2. ใช้เพื่อการรายงานข่าว ออกรายการโทรทัศน์ ทำงานวิจัย หรือการพัฒนาอากาศยานต่าง ๆ ผู้บังคับโดรนต้อง จดทะเบียนให้ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานเเพิ่มเติมด้วย โดยดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์สำนักงานการบินพลเรือน หรือ CATT

                ในปัจจุบันเริ่มมีผู้อาศัยความถนัดด้านเทคโนโลยี ทำการฝึกฝนทักษะการขับ โดรน จนชำนาญ เข้ามารับงานเป็น นักขับโดรน กันมากขึ้น มีการเข้าร่วมการแข่งขันการขับเคลื่อนยานพหนะไร้คนขับนี้จนได้แชมป์ระดับโลกมาแล้ว และอาจมีการนำไปใช้งานในด้านอื่น ๆ อย่างแพร่หลายมากขึ้นอีกด้วย สำหรับผู้ที่อยู่ระหว่างตัดสินใจซื้อโดรน ควรศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ดีเสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง Ufabet เว็บหลัก

โดรน

Credit by : ufabet