AI ในชีวิตประจำวันมีอะไรบ้าง

AI ในชีวิตประจำวันมีอะไรบ้าง

                AI หรือ Artificial Intelligence คือปัญญาประดิษฐ์ เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนและพัฒนาขึ้นมาให้ฉลาด สามารถคิดวิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจได้ ช่วยให้การประมวลผลของฐานข้อมูลขนาดใหญ่รวดเร็วขึ้น และยังสามารถดัดแปลงข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล มาประยุกต์ใช้ตามสถานการณ์ต่างๆ

                ในปัจจุบัน ปัญญาประดิษฐ์ สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้มากมาย โดย ปัญญาประดิษฐ์ เป็นเทคโนโลยีที่กำลังเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมต่าง ๆ และคาดการณ์ว่ากำลังเป็นเทคโนโลยีที่จะเข้ามามีบทบาท และความสำคัญในการทำงาน รวมถึงการใช้ชีวิตของผู้คนในยุคดิจิทัลเป็นอย่างมาก ทำให้ความสามารถของ ปัญญาประดิษฐ์ เริ่มมีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งการประมวลผลของข้อมูลต่าง ๆ อย่างรวดเร็วและแม่นยำ การเข้ามาช่วยคิดวิเคราะห์แทนมนุษย์ในบางเรื่อง เป็นต้น

                ในปัจจุบันนี้ AI ได้เข้ามาอยู่ใน อุปกรณ์หรือบริการ ที่ผู้คนใช้งานกันทั่วไป และอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คน อย่างเช่น การค้นหาข้อมูลระบบ ปัญญาประดิษฐ์ จะช่วยจดจำข้อมูลต่าง ๆ เอาไว้ โดยในปัจจุบันมีการใช้ ปัญญาประดิษฐ์ ในชีวิตประจำวัน ดังต่อไปนี้

  1. ระบบช่วยเหลือลูกค้าออนไลน์ การทำงานของเว็บไซต์ในปัจจุบัน มักมีระบบแชทไว้คอยตอบหรือช่วยเหลือลูกค้าแบบออนไลน์ ซึ่งในปัจจุบันนิยมใช้ Chatbot ซึ่งเป็น ปัญญาประดิษฐ์ ที่พร้อมช่วยเหลือลูกค้าได้ 24 ชั่วโมง มีความสามารถในการตอบคำถามที่ถูกถามบ่อย ช่วยลดการใช้แรงงานของพนักงาน และทำให้ลูกค้าได้รับคำตอบที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
  2. ผู้ช่วยเสมือนจริง เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินชื่อ Sir ซึ่งเป็นระบบผู้ช่วยเสมือนจริงที่สามารถสั่งงานได้ด้วยเสียง ในปัจจุบันมีทั้งอุปกรณ์ Apple หรือ Google Assistant สามารถทำงานได้ด้วยระบบประมวลภาษาธรรมชาติ ก่อนวิเคราะห์คำสั่ง หรือความต้องการของผู้ใช้ผ่านภาษาที่พูดกันทั่วไป ปัญญาประดิษฐ์ จึงสามารถเข้าใจ และสร้างประโยคเพื่อตอบคำถาม หรือตอบสนองกับผู้ใช้งานได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
  3. การระบุตัวตนด้วย ปัญญาประดิษฐ์ การระบุตัวตนด้วยไบโอเมทริกซ์ อย่างม่านตา เสียง ลายนิ้วมือ รูปหน้า ภาษากาย ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการนำเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ มาใช้ เพื่อจดจำรูปแบบ และแยกแยะ จึงช่วยยืนยันตัวตน หรือระบุตัวตนของบุคคลได้ มักใช้ในเครื่องสแกนลายนิ้วมือเพื่อบันทึกเวลาเข้าออกทดแทนการตอกบัตร หรือการสแกนม่านตาเพื่อใช้งานสมาร์ทโฟน เป็นต้น
  4. การตอบโต้ด้วยเสียง ด้วยระบบจดจำและสังเคราะห์เสียงพูด เป็นระบบที่สามารถทำงานร่วมกับระบบ NLP เพื่อให้สามารถตอบโต้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรมชาติมากขึ้น
  5. ระบบอัตโนมัติของหุ่นยนต์ เทคโนโลยีหุ่นยนต์ถูกนำมาใช้ในงานอุตสาหกรรมมานานแล้ว แต่ในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์ในภาคธุรกิจ หรือในชีวิตประจำวันมากขึ้น ช่วยแก้ปัญหาเฉพาะบางอย่างได้ เช่น หุ่นยนต์ทำความสะอาด หุ่นยนต์ที่ทำหน้าที่ต้อนรับ หรือรถยนต์ที่ขับเคลื่อนได้เอง
  6. ผู้ช่วยเสมือนจริง คือเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ ที่ช่วยในการเข้าถึงคลังความรู้ หรือบริการต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น Siri จะทำให้การเข้าถึง และเข้าใจในตารางงาน อีเมล์ ปฏิทิน นาฬิกา เพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าถึงตารางการทำงานได้ดีขึ้น
  7. รู้จักภาษาต่าง ๆ ที่มนุษย์ใช้ ด้วยระบบประมวลภาษาธรรมชาติ (NLP) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้คนสามารถปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ โดยจะคิดวิเคราะห์คำสั่ง หรือความต้องการของผู้ใช้ผ่านภาษาธรรมชาติ อย่างการค้นหาสถานที่ด้วยเสียงใน Google Map และช่วยให้เรื่องยาก ๆ กลายเป็นเรื่องง่ายขึ้น โดยการกำหนดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ทำงานตามกฎที่ตั้งเอาไว้ โดยเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ จะช่วยเพิ่มความสามารถในการตัดสินใจให้ได้ทางเลือกที่ดีที่สุด

   หน้าที่การงานที่สามารถนำ AI มาใช้แทนมนุษย์

  1. ผู้ช่วยส่วนบุคคล (Personal Assistance) AI มีความสามารถในการจัดการสิ่งต่าง ๆ ได้เอง จึงสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  2. ผู้ช่วยทางการแพทย์ (Medical diagnosis/prescription) ทำให้แพทย์สามารถผ่าตัดจากทางไกลได้ ช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแพทย์ หรือทำให้การรักษารวดเร็วขึ้น
  3. การดำเนินการ (B2B processes/Interaction) เป็นระบบการดำเนินการที่ทำได้โดยปราศจากตัวกลาง ทำให้ทำงานได้เร็วขึ้น และลดโอกาสเกิดข้อผิดพลาดในการดำเนินงาน
  4. การคิดคำนวณ (Arithmetic Analysis) ปัญญาประดิษฐ์ จะช่วยให้การคำนวณข้อมูลจำนวนมหาศาลรวดเร็วขึ้น สามารถคำนวณโต้ตอบกับมนุษย์ได้แบบเรียลไทม์
  5. การจัดเอกสาร (Law paperwork preparation) ปัญญาประดิษฐ์ จะช่วยจัดระเบียบเอกสารจำนวนมาก ๆ ได้แม่นยำมากขึ้น และยังลดโอกาสเอกสารสูญหายอีกด้วย
  6. การจัดการนัดหมาย (Professional Scheduling) ปัญญาประดิษฐ์ เป็นตัวช่วยจัดการการนัดหมายต่าง ๆ สามารถระบุจำนวนคน อุปกรณ์ที่ต้องใช้ วันและเวลาในการทำงานได้ ลดปัญหาความซ้ำซ้อน และความผิดพลาดจากการนัดหมายต่าง ๆ
  7. ภาคการผลิต (Manufacturing Industry) ปัญญาประดิษฐ์ จะช่วยให้ภาคการผลิตสามารถทำงานได้รวดเร็ว ตรงตามมาตรฐาน และต้นทุนลดลงได้ดี เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
  8. ลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Services Provision) ปัญญาประดิษฐ์ คือตัวช่วยที่สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า จากการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ของลูกค้า เช่นพฤติกรรมการซื้อสินค้า วันเวลาที่ซื้อ และคาดการณ์แผนการตลาดได้อย่างตรงจุด
  9. การขนส่ง (Transportation Industry) ปัญญาประดิษฐ์ จะช่วยให้กระบวนการขนส่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้จากการคำนวณค่าใช้จ่าย ค่าน้ำมัน ระยะเวลาที่ใช้ พื้นที่ในการขนสินค้า ส่งผลให้การขนส่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  10. งานประกันภัย (Insurance Industry) ปัญญาประดิษฐ์ จะช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้เอาประกัน และคาดคะเนถึงโอกาสที่จะใช้ประกันภัย ลูกค้าสามารถตัอสินใจซื้อประกันที่จำเป็นได้ ไม่ต้องเสียเบี้ยประกันสูง ๆ เกินความจำเป็น สนับสนุนให้ผู้ขายประกันต้องพัฒนาตนเอง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีมากขึ้น
  11. งานด้านการศึกษา (Education-personal) การใช้ ปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ จะช่วยให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ หรือ Upskill ให้กับนักเรียน และคนทั่วไป อย่างการฝึกทักษะเป็นช่าง งานก่อสร้าง และงานความรู้อื่น ๆ
AI

ความสามารถของ ปัญญาประดิษฐ์ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้

                AI ยังคงได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เทคโนโลยีนี้มีความฉลาดมากขึ้น ทำงานได้หลากหลายมากขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถที่ใกล้เคียงกับมนุษย์มากขึ้น ดังนี้

  1. Machine Learning (ML) เมื่อป้อนข้อมูลเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ ปัญญาประดิษฐ์ จะทำการเรียนรู้ กับชุดข้อมูลนั้น ๆ เพื่อประมวลผลตามต้องการ ตัวอย่างเช่น เฟสบุ๊คที่ใช้รวบรวมข้อมูลภาพที่ไม่เหมาะสม และประมวลผลว่าภาพใดไม่ควรแสดงผลบนหน้าฟีด ซึ่งเป็นหลักการทำงานของA I และคาดการณ์ว่าจะมีการนำไปใช้งานในโซเซียลมีเดียอื่น ๆ ในอนาคต
  2. Natural Language Processing (NLP) เป็นการพัฒนาให้ ปัญญาประดิษฐ์ สามารถเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ได้มากขึ้น สามารถทำการวิเคราะห์เสียง สีหน้าท่าทางของผู้พูด เพื่อช่วยให้เอไอสามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ได้ดีมากขึ้น สามารถรับข้อมูลจากเสียงไปปฏิบัติการงานต่าง ๆ ที่ต้องการนอกเหนือจากการโต้ตอบทั่วไปอย่างการใช้เสียงสั่งการให้เปิดปิดไฟได้อัตโนมัติ หรือการแปลภาษาแบบเรียลไทม์ เป็นต้น
  3. Deep Learning (Neural Networks) เมื่อระบบประมวลผลของคอมพิวเตอร์สามารถเลียนแบบการทำงานของระบบโครงข่ายประสาทในสมองของมนุษย์ ก็จะทำให้เกิดการนำเอา neural network หลาย ๆ ส่วนมาใช้งาน รวมเป็นโครงสร้างที่ถูกจัดเก็บอย่างซับงซ้อน มีโครงสร้างที่ลึกมากขึ้น จนสามารถประมวลผลหลายสิ่งพร้อม ๆ กันได้ เช่นการทำงานของหุ่นยนต์ที่จะซับซ้อนและละเอียดมากขึ้น Ufabet เว็บหลัก
AI

Credit by : ufabet