space x ความทะเยอทะยานของอีลอน มัสก์

space x ความทะเยอทะยานของอีลอน มัสก์

                Space x คือบริษัทด้านยานยนต์อวกาศที่ก่อตั้งด้วยทุนส่วนตัวของ อีลอน มักส์ (Elon Musk) มหาเศรษฐีที่ขึ้นชื่อเรื่องความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี โดยบริษัทนี้เกิดจากความใฝ่ฝันของเขาที่ต้องการสร้างจรวด และทำโครงการอวกาศเพื่อพาผู้คนให้เดินทางไปยังดาวอังคารให้ได้ มีชื่อเต็มของบริษัทว่า Space Exploration Technologies Corp หรือสเปซเอ็กซ์ (space x) นั่นเอง ประกอบธุรกิจเป็นบริษัทผู้ออกแบบ ผลิต และส่งจรวด หรือยานอวกาศออกไปนอกโลก ก่อตั้งขึ้นในปี 2002 จุดมุ่งหมายนอกจากการเดินทางท่องอวกาศแล้ว ยังต้องการนำมนุษยชาติไปตั้งถิ่นฐานในต่างดาวอีกด้วย ถือเป็นแนวคิดที่ปฏิวัติอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอวกาศ (Space Technology) เป็นอย่างมาก

                โดยเมื่อเริ่มแรงของแนวคิดในการก่อตั้งบริษัท Elon Musk ได้เดินทางไปยังรัสเซียเพื่อศึกษาการทำงานของเครื่องยนต์จรวด และพยายามจะซื้อขีปนาวุธ Dnepr ของรัสเซีย เพื่อนำมาใช้ในการส่งยานอวกาศและดาวเทียม แต่ไม่ประสบความสำเร็จ Elon จึงเปลี่ยนมาเป็นความต้องการที่จะสร้างจรวดเป็นของตนเอง โดยพวกเขาได้สร้างจรวดขนาดเล็กที่ชื่อว่า Falcon 1 และทดลองใช้ฐานปล่อยซึ่งเป็นเกาะกลางทะเลเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการท่องอวกาศลง และประสบความสำเร็จในที่สุด พวกเขาจึงมีแผนต่อมาเป็นการสร้างจรวดที่มีใหญ่ขึ้นชื่อว่า Falcon 9 ขึ้นบินครั้งแรกในปี 2010 หลังจากใช้เวลาไปเกือบ 5 ปีในการออกแบบและทดสอบ

                อีลอน มัสก์ ได้บรรยายวิสัยทัศน์ของ spacex ภายใต้หัวข้อ Making Humans a Multiplanetary Species เอาไว้ในงาน International Astronautical Congress เมื่อเดือนกันยายน ปี 2016 ว่า ปัจจัยสำคัญของความสำเร็จขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีในการนำจรวดหรือชิ้นส่วนกลับมาใช้ใหม่ (Reusable) ให้ได้ เพราะแต่เติมชิ้นส่วนเหล่านี้จะเสียหายจนไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าเป้าหมายของอีลอนคือการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการส่งจรวดขึ้นไปยังอวกาศ ให้เหลือเพียง 10% ของค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน และในระยะยาวค่าใช้จ่ายเหล่านี้ควรลดลงเหลือเพียง 1% กล่าวคือค่าใช้จ่ายในการส่งจรวดแต่ละครั้งต้องเปลี่ยนจาก 62 ล้านดอลลาร์ ให้เหลือ 620,000 ดอลลาร์เท่านั้น

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/ดาวเคราะห์-ช่องว่าง-โลก-ดวงจันทร์-4853138/

                หนทางสู่การเป็นผู้นำด้านอากาศยานของ space x

                เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2018 space x ได้ทำการทดสอบส่งจรวดฟาวด์คอนเฮวี่ (Falcon Heavy) ซึ่งถือเป็นจรวดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและยังปฏิบัติงานอยู่ในอวกาศจนถึงปัจจุบันให้ขึ้นสู่อวกาศไปพร้อม ๆ กับสัมภาระชิ้นสำคัญ อย่างรถยนต์ Tesla Roadster สีแดงของอีลอน มัสก์ และหุ่นจำลอง Starman โดยยานได้ถูกส่งเข้าสู่วงโคจรของดาวอังคารด้วยฐานยิงจรวดที่แหลมคานาเวอร์ลัน ในรัฐฟลอริดา ถือเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ครั้งใหญ่ให้กับอุตสาหกรรมอวกาศ ที่บริษัทเอกชนสามารถส่งจรวดขนาดใหญ่ออกสู่อวกาศ และสามารถนำชิ้นส่วน 2 ใน 3 ของจรวดที่ใช้ให้กลับสู่พื้นโลกเพื่อนำมาใช้งานต่อไปได้สำเร็จ โดยนักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่ามีความเป็นไปได้ที่รถยนต์ Tesla จะเคลื่อนเข้ามาใกล้โลกมากที่สุดอีกครั้งในปี 2091

                ความสำเร็จในครั้งนี้ได้สร้างความเชื่อมั่นให้กับ spacex ถึงความเป็นไปได้ที่จะส่งจรวดไปลงจอดยังดาวอังคารต่อไป แต่ยังคงมีคำถามมากมายถึงโอกาสในการตั้งถิ่นฐานบนดาวอังคาร ไม่ว่าจะเป็นรังสีและแสงอาทิตย์บนดาวอังคารที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิต การผลิตอาหารและพลังงาน การสร้างชุมชน ตลอดจนเงินลงทุนในทำโครงการดาวอังคารให้สำเร็จ

 Space x

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/เครื่องบิน-อากาศยาน-5569624/

                ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ในปี 2021

                space x ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 2021 ด้วยการส่งเที่ยวบินอวกาศในลักษณะการท่องเที่ยวได้สำเร็จเป็นครั้งแรก โดยนำกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เป็นพลเรือนทั้งหมด และยังไม่ผ่านการฝึกสอนเป็นนักบินอวกาศขึ้นไปท่องเที่ยวในวงโคจรโลกเป็นเวลานาน 3 วัน ภายใต้ภารกิจที่เรียกว่า Inspiration4 ได้

                spacex ได้ปล่อยจรวด Falcon 9 Block 5 ซึ่งเป็นจรวดขนาดกลางที่มีขนาด 2 ชั้นที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยส่งออกไปยังอวกาศที่ศูนย์อวกาศเคนเนดีในรัฐฟลอริดา เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2021 โดยมีนักท่องเที่ยวโดยสารไปด้วยทั้งหมด 4 คน นำโดย จาเร็ด ไอแซคแมน (Jared Isaacman) ซึ่งเป็นมหาเศรษฐีนักธุรกิจชาวอเมริกัน เป็นผู้ก่อตั้ง และดำรงตำแหน่งซีอีโอของบริษัทที่ให้บริการชำระเงิน Shift4 Payments ซึ่งเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดของเที่ยวบินอวกาศนี้ ตัวไอแซคแมนมีประสบการณ์ขับเครื่องบินรบของกองทัพ และเคยเป็นนักบินอวกาศสมัครเล่น โดยเขารับหน้าที่เป็นผู้บัญชาการประจำยาน (Spacecraft commander) ควบคู่ไปด้วย ส่วนลูกเรืออีก 3 คน ประกอบด้วยนักบิน ดร.เซียน พรอคเตอร์ (Sian Proctor) ซึ่งเป็นทั้งนักธรณีวิทยา และนักบินอวกาศเชิงพาณิชย์ที่เคยเข้ารอบสุดท้ายในโครงการนักบินอวกาศของ NASA แพทย์ประจำเที่ยวบิน เฮย์ลีย์ อาร์เซโนซ์ (Hayley Arceneaux) มีอาชีพเป็นผู้ช่วยแพทย์ ของโรงพยาบาลวิจัยเด็กเซนต์จูด และผู้เชี่ยวชาญประจำภารกิจ คริสโตเฟอร์ เซมบรอสกี (Christopher Sembroski) เป็นวิศวกรด้านข้อมูลชาวอเมริกัน และเป็นทหารผ่านศึกกองทัพอากาศ และนักบินอวกาศเชิงพาณิชย์ที่ได้รับตั๋วที่นั่งมาจากเพื่อนที่ชนะการจับรางวัลในนามของผู้ร่วมบริจาค

                ลูกเรือทั้งหมดต้องผ่านการฝึกเพื่อเตรียมความพร้อมในการท่องอวกาศเป็นเวลา 6 เดือน และโดยสารในยาน Crew Dragon Resilience ซึ่งจะไปยังวงโคจรที่ระดับความสูง 585 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก และได้ใช้เวลาในอวกาศรอบวงโคจรของโลกเป็นเวลา 3 วัน ก่อนกลับสู่พื้นโลกในวันที่ 19 กันยายน

                เป้าหมายของภารกิจ Inspiration4 ที่จัดโดย spacex คือการระดมทุนกว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อโรงพยาบาลวิจัยเด็กเซนต์จูด และในการท่องอวกาศแรกของ spacex ยังประสบความสำเร็จในการสร้างประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ดังนี้

  • เป็นเที่ยวบินอวกาศแรกที่ลูกเรือทั้งหมดในยานไม่ใช่นักบินอวกาศมืออาชีพ
  • มีนักบินหญิงผิวสีคนแรกที่ได้เที่ยวบินไปในอวกาศ
  • พลเรือนอเมริกันที่มีอายุน้อยที่สุดที่ได้เดินทางสู่อวกาศ (เเฮย์ลีย์ อาร์เซโนซ์ มีอายุ 29 ปี)

                ตลอดระยะเวลา 3 วันในการท่องเที่ยวรอบวงโคจรของโลกนั้น ลูกเรือทั้งหมดสามารถติดต่อพูดคุยกับครอบครัวจากอวกาศผ่านระบบสื่อสารของ NASA และยังมีโอกาสได้สัมผัสบรรยากาศอันสวยงามของอวกาศผ่านโดมหน้าต่างขนาดใหญ่ที่เรียกว่า Copula ซึ่งเป็นโดมหน้าต่างแบบเดียวกับสถานีอวกาศนานาชาติ และยังมีการทดลองผลกระทบด้านสุขภาพของลูกเรือในขณะที่ใช้เวลาอยู่ในอวกาศ ด้วยการเก็บข้อมูลทางชีวการแพทย์ และตัวอย่างทางชีวภาพต่าง ๆ จากลูกเรือทั้งหมด เพื่อศึกษาวิจัยผลกระทบจากการท่องเที่ยวบนอวกาศที่มีต่อร่างกายของมนุษย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้การท่องอวกาศของมนุษย์ในอนาคตได้รับการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น

สรุป

                ประวัติความสำเร็จของ space x ที่ได้สร้างความคาดหวังให้กับเทคโนโลยีอวกาศ และแสดงถึงความไม่ย่อท้อต่อความล้มเหลวจากการทดลอง ถือเป็นการเปิดฉากไปสุ่การค้นคว้า และการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์เพื่อการเดินทางไปต่างดาวของมนุษย์ต่อไป Ufabet เว็บหลัก

 Space x

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/illustrations/นักบินอวกาศ-ยานอวกาศ-ช่องว่าง-จรวด-4160023/

Credit by : ufabet